สภาพทั่วไป เทศบาลตำบลหนองลาน

ด้านกายภาพ

          1.1   สภาพพื้นที่ตำบลหนองลาน  ตามแผนที่ประกาศกระทรวงมหาดไทย  ยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลหนองลาน มาตราส่วน 1 : 50,000  มีแนวเขตความรับผิดชอบหลักเขตพื้นที่ตำบล ดังนี้

                1.) เขตพื้นที่ตามสัดส่วนของมาตราส่วน 1:50,000  ระหว่างเส้นสัดส่วนแนวดิ่งอยู่ระหว่าง  เส้นที่ 47.5 ถึงเส้นที่ 55  และระหว่างเส้นสัดส่วนแนวราบ (ขวามือ)  ระหว่างเส้นที่ 87.5 เส้นที่ 92

                2.) เขตพื้นที่ตามทิศ 4 ด้านระหว่าง หลักเขตที่ 1-23 มีหลักเขตตามทิศ ดังนี้

                   2.1) ทิศเหนือ แนวหลักเขตที่ 1,2,3 และ 23 (จดเขตจังหวัดสุพรรณบุรี/นครปฐม)

                   2.2) ทิศใต้     แนวหลักเขตที่ 17,18,19 (จดเขตจังหวัดนครปฐมและกาญจนบุรี

                   2.3) ทิศตะวันออก แนวหลักเขตที่ 4-16 (จดเขตอำเภอกำแพงแสนและจ.นครปฐม)

                    2.4) ทิศตะวันตก แนวหลักเขตที่ 20,21,22(จดเขตตำบลพระแท่น,ตำบลอุโลกสี่หมื่น จังหวัดกาญจนบุรี)

               3.) พื้นที่เทศบาลตำบลหนองลานมีทั้งสิ้น 19.8 ตารางกิโลเมตร รวม 12,375 ไร่

      1.2 มีเขตการบริหารจัดการปกครองท้องถิ่นตามกฎหมาย ดังนี้

               1.) การปกครองท้องที่ (เทศบาลตำบลหนองลาน) มีเขตการเลือกตั้ง 2 เขต

                   1.1) เขตเลือกตั้งเขตที่ 1 ประกอบด้วย เขตการปกครองท้องถิ่น มี 4 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1 บางส่วน ,หมู่ที่ 4, หมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 8

                   1.2) เขตเลือกตั้งเขตที่ 2 ประกอบด้วย เขตการปกครองท้องถิ่น มี 4 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1 บางส่วน,หมู่ที่ 2, หมู่ที่ 3, หมู่ที่ 5, หมู่ที่ 6

               2.) เขตการปกครองท้องที่ (ตำบล,หมู่บ้าน) ดังนี้

                      หมู่ที่ 1  บ้านหนองลาน

                      หมู่ที่ 2  บ้านหกหลัง

                      หมู่ที่ 3  บ้านหนองลาน

                      หมู่ที่ 4  บ้านจันทร์ลาด

                      หมู่ที่ 5  บ้านรางหว้า

                      หมู่ที่ 6  บ้านหกหลังใน

                      หมู่ที่ 7  บ้านอยู่เจริญ

                      หมู่ที่ 8  บ้านหนองไม้แก่น

      1.3 ลักษณะภูมิประเทศ

           ลักษณะภูมิประเทศ (พื้นที่) ของตำบลหนองลานมีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม ไม่มีพื้นที่เป็นเขาแต่อย่างใด มีระบบน้ำชลประทานเข้าถึงทุกพื้นที่สภาพแหล่งน้ำในการประกอบอาชีพเกษตรแบบผสมผสาน

     1.4  ลักษณะภูมิอากาศ

         ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไปของพื้นที่อยู่ภายใต้อิทธิพลและลมมรสุมประจำฤดูกาล แบ่งออกได้ 3 ฤดูกาล 

                  ๑.) ฤดูร้อน     ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนมีนาคม        ถึง เดือนเมษายน

                  ๒.) ฤดูฝน      ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม   ถึง เดือนตุลาคม

                  ๓.) ฤดูหนาว   ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนกุมภาพันธ์

     1.5 ลักษณะ/คุณภาพของดิน

       ลักษณะดินในเขตพื้นที่ตำบลหนองลาน แบ่งเป็นประเภทสภาพของดินใน 3 ลักษณะ คือ

                     1.) ดินร่วนปนทราย              ร้อยละ 75

                     2.) ดินปนลูกรัง (ขนาดเล็ก)  ร้อยละ 15  

                     3.) ดินเหนียว                      ร้อยละ 10

        คุณภาพของดิน ยังมีการใส่ปุ๋ยเคมีและอินทรีย์แบบผสมผสานช่วยเพิ่มแร่ธาตุในดินให้ครบทั้ง 3 ตัวหลัก ซึ่งเกษตรกรยังมีความต้องการให้ช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรเป็นต้นทุนในการประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม

     1.6 ลักษณะของแหล่งน้ำ

           เขตพื้นที่ตำบลหนองลานแบ่งประเภทของแหล่งน้ำในพื้นที่ ออกเป็น3 ประเภทหลัก คือ

            1.) ประเภทแหล่งน้ำตามธรรมชาติ

                        - ลำห้วย                1 แห่ง

                        - หนองบึง              3 แห่ง

                        - สระน้ำ                 3 แห่ง

             2.) ประเภทแหล่งสร้างขึ้นเอง

                        - บ่อบาดาล                                                15 แห่ง (อุปโภค/บริโภค)

                        - คลองส่งน้ำชลประทาน (สายหลัก/สายลอง) 5 สาย

                        - คลองระบายน้ำของชลประทาน                  1 สาย (ผ่าน หมู่ 7,1,2,3,5)

             3.) ประเภทอื่นๆ

                        - บ่อทรายเอกชน ที่ดูดทรายแล้ว (แหล่งเก็บน้ำ) 4 แห่ง           

ด้านการเมือง/การปกครอง

   2.1 เขตการปกครองท้องที่

    มีเขตการปกครองท้.องที่ (ลักษณะปกครองท้องที่) แบ่งหมู่บ้านออกเป็น 8 หมู่บ้าน ทุกหมู่บ้านยังอยู่ในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เทศบาลตำบลหนองลานทุกหมู่บ้าน ดังนี้

          หมู่ที่   1  บ้านหนองลาน      ผู้ใหญ่บ้าน    ชื่อ  นายประนอม   กุญชร

          หมู่ที่   2  บ้านหกหลัง          ผู้ใหญ่บ้าน    ชื่อ  นายณิชชาสิงห์   ดาปาน

           หมู่ที่   3  บ้านหนองลาน      ผู้ใหญ่บ้าน   ชื่อ  นายสันติภาพ กลั่นดี

           หมู่ที่   4  บ้านจันทร์ลาด      ผู้ใหญ่บ้าน   ชื่อ  นายรัชชานนท์  ม่วงตารส

           หมู่ที่   5  บ้านรางหว้า          กำนัน          ชื่อ  นายวิชา         แย้มพวง

            หมู่ที่   6  บ้านหกหลังใน      ผู้ใหญ่บ้าน  ชื่อ  นายหลง        ศิลาจันทร์

            หมู่ที่   7  บ้านอยู่เจริญ         ผู้ใหญ่บ้าน  ชื่อ  นายนิเวท       ประจบดี

            หมู่ที่   8  บ้านหนองไม้แก่น  ผู้ใหญ่บ้าน  ชื่อ  นายวันชัย      ญาติคำ

   2.2 เขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)

    เทศบาลตำบลหนองลาน ยกฐานะตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2552  มีเขตการบริหารในลักษณะปกครองท้องที่ (หมู่บ้าน) รวม 8 หมู่บ้าน แบ่งเขตการบริหารจัดการเลือกตั้งรวม 2 เขตหลัก (ตามหมู่บ้าน) ดังนี้

        1.) เขตเลือกตั้งที่ 1 มี 4 หมู่บ้าน (หมู่ที่ 1บางส่วน,หมู่ที่ 4, หมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 8)

        2.) เขตเลือกตั้งที่ 2 มี 5 หมู่บ้าน (หมู่ที่ 1 บางส่วน ,หมู่ที่ 2, หมู่ที่ 3, หมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 6)

   2.3 การเลือกตั้ง (เมื่อปี 2564)

          ประชากรผู้มีสิทธิเลือกตั้งนายกเทศมนตรีและสมาชิกสภาเทศบาล(สท.) เมื่อวันที่ 28 มีนาคม  2564  ตามเขตเลือกตั้งและหน่วยเลือกตั้ง 9 หน่วย ดังนี้

-ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง นายยกเทศมนตรี 3,510 คน มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 3,206 คน คิดเป็นร้อยละ 91.33

-ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง สมาชิกฯ เขต1 1,671 คน  มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 1,533 คน คิดเป็นร้อยละ 91.74

-ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง สมาชิกฯ เขต2 1,839  คน มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 1,673 คน คิดเป็นร้อยละ 90.97

ประชากร/ครัวเรือน

     3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร มีประชากรทั้งหมด 4,635 คน ชาย 2,287 คน หญิง 2,348 คน แบ่งตามช่วงวัย (ตามเกณฑ์ จปฐ.) ดังนี้

           1.) วัยเด็ก ช่วงอายุ        0-14 ปี       มีจำนวน 904 คน      ร้อยละ 19.5

           2.) วัยทำงาน  ช่วงอายุ  15-50 ปี      มีจำนวน 2,944 คน   ร้อยละ 63.15

           3.) วัยสูงอายุ  ช่วงอายุ  60 ปีขึ้นไป   มีจำนวน    804 คน   ร้อยละ 17.35

                                                                             (เพิ่มขึ้นต่อปีเฉลี่ยร้อยละ 0.95)

    3.2 มีประชากรที่มีความทุพพลภาพ(พิการ) ตามประเภทต่าง (9 ประเภท) รวม 121 คน

    3.3 มีครัวเรือนทั้งสิ้น  1,312 ครัวเรือน

สภาพตามสังคม  (ตามหลัก “บวร”)

สถานศึกษา

ตำบลหนองลานมีสถานศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการ พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนคุณภาพ “คน 3 วัย” แบ่งได้ 3 ลักษณะ

        1.) การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาตามกฎหมายเกี่ยวข้องตั้งแต่เด็กก่อนวัยเรียน และเตรียมอนุบาลจนถึงระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ดังนี้

        1.1 โรงเรียนระดับประถมศึกษา รวม 4 โรงเรียน

              1. โรงเรียนวัดดาปานนิมิตมิตรภาพที่ 142 มีเด็กนักเรียน

                  ระดับอนุบาลและประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 256 คน

                  บุคลากร/ผู้ดูแลเด็ก                  รวม  16  คน

              2. โรงเรียนวัดหนองไม้แก่น หมู่ที่ 6  มีเด็กนักเรียน

                   ระดับอนุบาลและประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 127 คน

                   บุคลากร/ผู้ดูแลเด็ก                 รวม  13  คน

               3. โรงเรียนบ้านจันทร์ลาดวิทยา หมู่ที่ 4  มีเด็กนักเรียน

                   ระดับอนุบาลและประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 71 คน

                   บุคลากร/ผู้ดูแลเด็ก                 รวม  8  คน

               4. โรงเรียนวัดหนองลาน หมู่ที่ 3  มีเด็กนักเรียน

                    ระดับอนุบาลและประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 65 คน

                    บุคลากร/ผู้ดูแลเด็ก                 รวม  7  คน

         1.2 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลหนองลาน รวม 1 แห่ง ตั้งอยู่ หมู่ที่ 7 มีเด็กเล็กระดับเตรียมอนุบาลและอนุบาล  ดังนี้

                - เตรียมอนุบาล                              รวม  91  คน

                - บุคลากรทางการศึกษา (ครู/ผู้ดูแลเด็ก) รวม  9  คน

       2) การศึกษานอกระบบ (กศน.ระดับตำบล)

            2.1 มีศูนย์การเรียนรู้ กศน. ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา รวม 1 แห่ง  สถานที่ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 6 บ้านหกหลังมีบุคลากรดูแลและให้บริการนักเรียนรวม 1 คน   

        3) อื่นๆ (การเรียนรู้ตลอดชีวิตและศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ชุมชน) 

             3.1 โรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลหนองลาน (การเรียนรู้ช่วงปลายชีวิต) มีนักเรียนผู้สูงอายุ (ช่วงอายุ 58 ปีขึ้นไป) รวม 150 คน มีบุคลากรดูแลขับเคลื่อน ดังนี้

                    1. คณะกรรมการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและอาชีพผู้สูงอายุ (ศพอส.)รวม 1 คน

                     2. คณะกรรมการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุ รวม 1 คน

                     3. วิทยากรและคณะทำงานช่วยเหลือโรงเรียน รวม 20 คน (ภายในเขตพื้นที่ตำบล) และวิทยากรภายนอก (ทุกหน่วยงานและบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิ) ตามความจำเป็นเน้นในหลักสูตรการเรียนการสอน  3 หมวด (ต้องรู้..ควรรู้ และอยากรู้)

             3.2 ศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ชุมชน

                   1. ศูนย์เรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง/หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง และโคกหนองนาโมเดลต้นแบบ  บ้านหนองไม้แก่น หมู่ที่ 8

                   2. ศูนย์เรียนรู้ “โคกหนองนาโมเดล” ในเขตพื้นที่ (ม.3,6,7) รวม 3 แห่ง

สถานบริการสาธารณสุข (ระดับตำบล/รพสต.)

         ตำบลหนองลานมีสถานบริการด้านสุขภาพของประชาชน “คน 3 วัย” ในระดับปฐมภูมิที่ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างทั่วถึงมีอยู่ 1 แห่ง คือ

         1.) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองลาน (รพสต.)  รวม 1 แห่ง มีบุคลากรในส่วนของ  รพ.สต. รวม 4 คน และบุคลากรเฉพาะทางในส่วนของสาธารณสุขอำเภอ (สสอ.) และโรงพยาบาลมะการักษ์ มาร่วมดูแลและให้บริการประชาชนในระดับพื้นที่เป็นช่วง 1-2 สัปดาห์/เดือน มีองค์กรชุมชน “อาสาสมัครสาธารณสุขระดับหมู่บ้าน” อสม.ครบทุกหมู่บ้านรวม 77 คน มีกลไกขับเคลื่อนภารกิจตามบทบาทหน้าที่คณะกรรการเครือช่าย อสม.ตำบลหนองลาน มีภารกิจร่วมกันหลักๆ ดังนี้

               1.1) การเพื่อการดูแลสุขภาพประชาชน “คน 3 วัย” รวมถึงการเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงผู้ป่วยโรคเรื้อรังไม่ติดต่อและโรคที่เกิดตามช่วงฤดูกาล เช่น ไข้เลือดออก มือเท้าปาก ในเด็กก่อนวัยเรียนและเด็กระดับอนุบาล/ประถมศึกษา ตามช่วงระยะเวลาประจำทุกปี

                1.2.) การจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(MOU) กับหน่วยงานภาครัฐ (พมจ./รพ.สสอ) และหน่วยงานทุกภาคส่วนในพื้นที่ตำบลและองค์กรชุมชนที่เกี่ยวกับสุขภาพของประชาชนทุกช่วงวัย

                         1.) จัดทำ MOU ร่วมกับหน่วยงาน/องค์กรชุมชน ดังนี้ วิสาหกิจชุมชน  ศูนย์แพทย์แผนไทยวัดหนองไม้แก่น มีกิจกรรมร่วมในการเฝ้าระวังดูแลรักษาประกอบด้วย

                               1.1) การนวดแพทย์แผนไทยเพื่อสุขภาพ                                 

                               1.2) การนวดแพทย์แผนไทยเพื่อการรักษา

                               1.3) การแปรรูปสมุนไพรด้วยการอบไอน้ำสมุนไพร

                               1.4) การแปรรูปสมุนไพรเพื่อดูแลรักษาประเภท “ยาหอมสมุนไพร”

                               1.5) การให้ความรู้และถ่ายทอดภูมิปัญญารักษาโรคด้วนสมุนไพรพื้นบ้านร่วมกับระบบรักษาโรค โควิด-19 เมื่อช่วงปี 2562-2563

                        2.) นโยบายความร่วมมือผู้มีความรู้ศาสตร์ด้านการแพทย์แผนจีนการฝังเข็มเพื่อการดูแลรักษาสุขภาพ ณ ศูนย์แพทย์แผนไทยวัดหนองไม้แก่น (ตามช่วงเวลาที่ตกลงร่วมกัน)

                       3.) การขับเคลื่อนกิจกรรมกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น  ดังนี้

                            3.1) จัดกิจกรรมเสนอโครงการขอรับเงินกองทุน สปสช. ผ่านแนวทางการปฏิบัติของคณะกรรมการ สปสช.โดยถ่ายโอนความรับผิดชอบให้กับหน่วยงานและองค์กรชุมชนตามระเบียบฯ ข้อ 10 (1) (2) และ (3) เป็นการกระจายความรับผิดชอบให้ทุกองค์กรร่วมมือในการดูแลรักษาสุขภาพ “คน 3 วัย”  อย่างทั่วถึง

                            3.2) การจัดบริการสาธารณสุขผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่พิง(longtermcare) ในเขตพื้นที่โดยคณะกรรมการเป็นกลไกขับเคลื่อนสรุปผลการประเมิน 4 ระดับ รวม 36 คน(ปีงบประมาณ 2565)

                          3.3) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จัดทำแผนงาน/โครงการดูแลผู้สูงวัย ทุพพลภาพ เฝ้าระวังคัดกรองบุคคลผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงเกิดโรคเรื้อรังติดต่อ NCD อย่างต่อเนื่องทุกปี          

                     4.) สถานการณ์เกี่ยวกับการเจ็บป่วยของประชาชน (คน 3 วัย)

                          4.1) ช่วงวัยเด็ก 0-14 ปี จะพบเด็กป่วยโรคไข้เลือดออก,มือ เท้า ปาก,โรคเสี่ยงกับช่องปาก (ฟัน/เหงือก) มีกิจกรรมเฝ้าระวังรองรับสถานการณ์ประจำทุกปี(รณรงค์/และกิจกรรมลงตรวจเยี่ยม) รวมถึงการดูแลด้านเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด 0-6 ปี

                          4.2) ช่วงวัยทำงาน 15-59 ปี จะพบอาการเจ็บป่วยด้วยโรคประจำถิ่น/ไข้เลือดออก/ไข้หวัดใหญ่/อาการเจ็บกล้ามเนื้อ และโรคเกี่ยวกับการปนเปื้อนจากยาฆ่าแมลง และอุบัติเหตุเกิดจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรมและการรับจ้างทั่วไป

                          4.3) ช่วงวัยผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จะพบโรคในกลุ่มของโรคเรื้อรัง 7 ประเภทและเกิดจากอุบัติเหตุ(ลื่นล้ม) รวมถึงผู้ที่เข้าสู่ภาวะพึ่งพิง (LTC)

                     5.) แนวทางการแก้ไข/เฝ้าระวังการดูแลสุขภาพ (ร่วมกันของหน่วยงาน MOU)

                          5.1) การให้ความรู้ความเข้าใจ ในการดูแลและเฝ้าระวังของประชาชนทุกช่วงวัยโดยมีส่วนร่วมกับภาคส่วนทั้งภายในและภายนอกพื้นที่ในรูปของการประชุม อบรม ในส่วนของการ่จัดกิจกรรมตามโครงการและการตรวจเยี่ยมร่วมกับทีมองค์กรที่ร่วมทำ MOU อย่างต่อเนื่องทุกครัวเรือนประจำทุกปี

                          5.2) จัดทำระบบข้อมูลประชาชน “คน 3 วัย” ให้ชัดเจนกับสภาวะของร่างกายและการเฝ้าระวังการเจ็บป่วย เพื่อสร้างความมั่นใจต่อผู้ให้ และผู้รับบริการทางแพทย์ในการดูแลป้องกันรักษา และเป็นไปตามบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานองค์กรที่เกี่ยวข้อง

* กรณีตัวอย่าง* ช่วงปี 2565-ปัจจุบัน สถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรชุมชนในระดับพื้นที่แบ่งมอบหมายงานตามบทบาทหน้าที่รับผิดชอบชัดเจน ตามมาตรการรับมือกับสถานการณ์ได้ดีอยู่ในระดับต้นๆของอำเภอ                       

                          5.3) การจัดกิจกรรมการออกกำลังกาย เพื่อการบำบัดและรักษา โรคของประชาชนทุกช่วงวัย โดยกระจายความรับผิดชอบให้องค์กรชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ดังนี้

                               1.) ชมรมผู้สูงอายุและนักเรียนผู้สูงอายุมีกิจกรรมออกกำลังกายที่เหมาะสมกับศักยภาพฯ การเล่นกีฬาในร่ม/กลางแจ้งในระดับตำบลและในระดับอำเภอ

                               2.) สภาเด็กและเยาวชนจัดการแข่งขันกีฬาในร่มและกลางแจ้งอย่างเหมาะสมทุกปี
                               3.) มีการจัดตั้งกลุ่มออกกำลังกายตามกิจกรรมที่สนใจ เช่น กลุ่มการเต้นไลน์แด๊นซ์

และแอร์โรบิคแดนซ์

                               4.) จัดกิจกรรมกีฬาของนักเรียนในระดับประถมศึกษาฯ ทั้งภายในและกีฬาระหว่างโรงเรียน (ภายในเขต)

                        5.4) อื่นๆ (ที่สอดคล้องกับการดูแลป้องกันรักษาโรค)

                              1.) ตำบลหนองลานไม่มีโรงพยาบาลเอกชนอยู่ในพื้นที่

                              2.) ตำบลหนองลานไม่มีสถานที่จำหน่ายยารักษาโรคทั่วไป (โดยเภสัชกร

                              3.) ด้านสุขาภิบาลในครัวเรือน(ด้านห้องส้วม)ทุกครัวเรือนมีส้วมซึมครบ100%

ด้านอาชญากรรม 

เทศบาลตำบลหนองลานในรอบ  3 ปี ที่ผ่านมามีเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินในพื้นที่แยกตามประเภท ดังนี้

ลำดับที่

เหตุการณ์ที่

ปี 2563

ปี 2564

ปี 2565

หมายเหตุ

1

อาชญากรรม

  1.1 ทำร้ายร่างกาย 

  1.2 กระทำชำเรา – พรากผู้เยาว์

  1.3 ฉ้อโกง

  1.4 ลักทรัพย์

  1.5 อนาจาร

 

1

1

1

 

2

1

1

 

 

 

 

2

1

 

            2.) แนวทางเฝ้าระวังป้องกัน

                  2.1) เทศบาลตำบลหนองลานมีกลุ่มองค์กร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเฝ้าระวังแจ้งเหตุข้างต้น ดังนี้

                          1.) มีสถานีตำรวจภูธร  1 แห่ง     (สายตรวจตำบลหนองลาน)

                          2.) มีอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน  รวม 72 คน

                          3.) มีผู้นำท้องที่ (ปกครอง) กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน/ผู้ช่วยสารวัตรกำนัน และแพทย์ประจำตำบล รวม 20 คน  คณะผู้นำท้องถิ่น (สท.)  จำนวน 12 คน

                          4.) มีการตั้งจุดตรวจ/จุดสกัด และจุดบริการเฝ้าระวังเหตุในช่วยเทศกาลวันหยุดและเทศกาลวันสำคัญ มักเกิดเหตุการณ์ที่ก่อให้ประชาชนเดือดร้อน เป็นประจำทุกช่วงเวลาของการจัดกิจกรรมในเขตพื้นที่เทศบาล และมีโครงการครู Dare ในพื้นที่

ด้านยาเสพติด

         เทศบาลตำบลหนองลานมีปัญหาด้านยาเสพติดไม่แตกต่างกับเขตพื้นที่อื่น ซึ่งเป็นปัญหาวาระแห่งชาติ ซึ่งสะท้อนลงในเขตพื้นที่ทั่วทุกเขตพื้นที่ จะแตกต่างกันตรงการประสานความร่วมมือของภาครัฐและองค์กรชุมชนได้มีการขับเคลื่อนการเฝ้าระวังป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ที่รุนแรงหรือมากกว่าปกติเทศบาลตำบลหนองลานขอแยกประเภทผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ดังนี้

ลำดับที่

เหตุการณ์ที่

ปี 2563

ปี 2564

ปี 2565

หมายเหตุ

1

ยาเสพติด

  1.1 จำหน่ายยาบ้า

  1.2 ครอบครองยาบ้า

  1.3 เสพยาบ้า

 

2

3

2

 

3

3

2

 

3

3

3

 

          เทศบาลตำบลหนองลานร่วมกับเรือนจำจังหวัดกาญจนบุรีมีข้อตกลงในเรื่องการติดตามช่วยเหลือสนับสนุนดูแลผู้ที่ผ่านการรับโทษและต้องการเปลี่ยนแปลงชีวิตไม่ย้อนกลับไปสู่วัฎจักรด้านยาเสพติดอีก โดยมอบให้หน่วยงานที่รับผิดชอบของเทศบาลร่วมติดตามประกอบด้วย สมาชิกสภาเทศบาล ในเขตพื้นที่และเจ้าหน้าที่นักพัฒนาชุมชนจัดทำแบบสอบถามผลการติดตาม (บุคคลเป้าหมายให้ทางเรือนจำกลางจังหวัดกาญจนบุรีทราบตามกำหนด

ด้านการจัดการสังคมสงเคราะห์

           เทศบาลตำบลหนองลาน ได้จัดตั้งองค์กรชุมชนของประชาคม “คน 3 วัย” ไว้รองรับการพัฒนาคุณภาพชีวิตในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และหน่วยงานภาครัฐและองค์กรภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสังคมสงเคราะห์ด้านต่างๆ ตามช่วงวัยของประชาชนและตามสภาพของกลุ่มบุคคลเป้าหมายมีดังนี้

           1.) จัดตั้งชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลหนองลาน               ตั้งแต่ปี 2556

            2.) จัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลหนองลาน                      ตั้งแต่ปี 2556

            3.) จัดตั้งชมรมคนพิการเทศบาลตำบลหนองลาน              ตั้งแต่ปี 2556

            4.) จัดตั้งสภาเด็กและเยาวชนเทศบาลตำบลหนองลาน     ตั้งแต่ปี 2555

            5.) จัดตั้งอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.)                    ตั้งแต่ปี 2556

            6.) จัดตั้งศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและสภาอาชีพผู้สูงอายุ (ศพอส.)  ปี พ.ศ.2557

บทบาทหน้าที่ มีคณะกรรมการพัฒนาชุมชน และกรรมการ ศพอส. เป็นกลไกในการขับเคลื่อนตามภารกิจหลักดังนี้

            1.) การจัดทำระบบข้อมูลของกลุ่มองค์กรเป้าหมายเพื่อนำไปจัดทำแผนงานโครงการที่สอดคล้องกับภารกิจขององค์กรชุมชนต่างๆ

            2.) จัดตั้งโครงการเกี่ยวกับสวัสดิการขององค์กรชุมชนเป้าหมาย

               2.1) การจัดทำการเยี่ยมผู้สูงอายุ  ผู้พิการ  และผู้ด้อยโอกาสต่างๆส่งเสริมสนับสนุนการเข้าถึงบริการของภาครัฐในระดับพื้นที่และอำเภอจังหวัดพร้อมด้วยส่วนกลาง

               2.2) การจัดทำทะเบียนด้านเงินอุดหนุนการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด

               2.3) จัดการด้านการเอื้ออำนวยการรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ/คนพิการและผู้ป่วยเอดส์

               2.4) จัดตั้งกลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์ระดับตำบลตามหลัก“3 D”(ยากจน,เจ็บและจาก)

               2.5) จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ของนักเรียนผู้สูงอายุ และช่วยเพื่อนยามจน เจ็บ และจาก

               2.6) จัดทำโครงการเยี่ยมเยี่ยนผู้สูงอายุ คนพิการ และครัวเรือนเลี้ยงเด็กแรกเกิดประจำปี

               2.7)จัดทำโครงการช่วยเหลือผู้ยากจน ยากไร้ รายได้น้อย และผู้ด้อยโอกาสไร้ที่พึ่งรวมถึงผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง(LTC)

               2.8) จัดทำโครงการปรับปรุงซ่อมแซมบ้านคนจนตามแพทย์ที่กำหนด

ด้านระบบบริการพื้นฐาน

เส้นทางการคมนาคมขนส่ง (สายหลัก/ทางหลวงแผ่นดิน)

           1.) ทางหลวงแผ่นดิน สาย 3040 ระหว่าง ตำบลพระแท่น – ตำบลหนองลาน

                 และอำเภออู่ทอง  จังหวัดสุพรรณบุรี

            2.) ทางหลวงแผ่นดิน  สาย 346  ระหว่าง ตำบลพระแท่น – ตำบลหนองลาน

                 อำเภอกำแพงแสน  จังหวัดนครปฐม

            3.) ระบบภายในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลหนองลานเป็นถนน คสล.และลาดยาง ร้อยละ 95

                 ยังคงเหลือถนนลูกรัง ร้อยละ 5 ของถนนทั้งหมด

ด้านการบริการไฟฟ้า

             1.) เทศบาลตำบลหนองลาน มีและขยายเขตการใช้ไฟฟ้า (ขยาย 2-3 เฟส)ครบทุกครัวเรือน ร้อยละ 100  ของครัวเรือนทั้งหมด

             2.) การติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างสาธารณะของหมู่บ้านทั่วถนนทางหลวงแผ่นสาย 3040 และสาย 346 ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลหนองลานติดตั้งแล้วร้อยละ 60 ของระบบทางในพื้นที่

             3.) การติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างสาธารณะของหมู่บ้านตามเส้นทางทีมีความจำเป็นรวม 2 เส้นทางคือ หมู่ที่ 2 บ้านหกหลัง  หมู่ที่ 6 บ้านหกหลังในและหมู่ที่ 8 บ้านหนองไม้แก่น ร้อยละ 60 ของสายทางในพื้นที่

             4.) การติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างสาธารณะของหมู่บ้านกับตามเส้นทางที่มีความจำเป็น หมู่ 1,3 (สายหน้า รพสต.) ถึงทางหลวงแผ่นดินสาย 3040 (สุดเส้นทาง)

             5.) การติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างสาธารณะของหมู่บ้านตามเส้นทางผ่านสำนักงานเทศบาลและสุดเขตศูนย์ส่งเสริมพัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดกาญจนบุรีสุดเส้นทาง

การประปาหมู่บ้าน (อุปโภค/บริโภค)

        เทศบาลตำบลหนองลาน ไม่มีระบบการประปาส่วนภูมิภาค ผ่านในเขตพื้นที่มีการระบบประปา หมู่บ้านใช้อยู่ในเขตพื้นที่หมู่บ้านครบทั้ง 8 หมู่บ้าน รวมถึงระบบประปาทางเขตพื้นที่ใช้ร่วมกับส่วนราชการโรงเรียนและวัดในเขตพื้นที่หมู่บ้าน โดยแยกตามประเภทและขนาดของการจัดระบบประปาหมู่บ้านตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดการแหล่งน้ำ  เพื่อการบริโภคและอุปโภคด้วยการจัดตั้งองค์กรตามระเบียบเรียกว่าคณะกรรมการบริหารจัดการทางน้ำ ในเขตพื้นที่ของหมู่บ้านเป็นคณะกรรมการจัดการดูแลด้วยการบริหารจัดการโดยองค์กรตนเอง  เทศบาลมีหน้าที่ในการประกอบงบประมาณ เงินอุดหนุนจากส่วนกลางและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดการประปาและเขตพื้นที่เทศบาลมีระบบน้ำประปาหมู่บ้านใช้ร้อยละ 75 ของครัวเรือน  ซึ่งแยกตามประเภทของขนาดหอถังประปาหมู่บ้านดังนี้

           1.) ประปาหมู่บ้าน                             รวม  13 แห่ง

                   1.1) หมู่ที่ 1  บ้านหนองลาน       รวม  2  แห่ง

                   1.2) หมู่ที่ 2  บ้านหกหลัง          รวม  2  แห่ง

                   1.3) หมู่ที่ 3  บ้านหนองลาน       รวม  2  แห่ง

                   1.4) หมู่ที่ 4  บ้านจันทร์ลาด      รวม  2  แห่ง

                    1.5) หมู่ที่ 5  บ้านรางหว้า         รวม  2  แห่ง

                    1.6) หมู่ที่ 6,8  บ้านหกหลังใน,บ้านหนองไม้แก่น          รวม 1 แห่ง

                    1.7) หมู่ที่ 7  บ้านอยู่เจริญ         รวม  2 แห่ง

         2.) การบริหารจัดการ

2.1) มีคณะกรรมการ บริหารจัดการดูแลการจ่ายน้ำ ให้กับทุกพื้นที่มีระเบียบการใช้จ่ายเป็นกองทุนของประปาหมู่บ้านแบ่งเป็นสัดส่วน  ค่าไฟฟ้า ค่าซ่อมบำรุง ค่าขยายเขตการใช้น้ำและอื่นๆ

2.2) เทศบาลตำบลหนองลาน มีหน้าที่ให้ความรู้ ความเข้าใจในด้านการบริหารจัดการ รวมถึงการสนับสนุนด้านการซ่อมปรับปรุงอุปกรณ์เครื่องใช้บางส่วนที่เกินความสามารถของคณะกรรมการ โดยส่งมอบความรับผิดชอบให้คณะกรรมการผู้ใช้น้ำ ดูแลกันแบบมีส่วนร่วมฯ

 

alt


Thai Arabic Chinese (Traditional) English French German Indonesian Japanese Korean Vietnamese



สายด่วนนายก

0943519391







 



mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้212
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้361
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้2431
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่แล้ว1682
mod_vvisit_counterเดือนนี้8136
mod_vvisit_counterเดือนที่แล้ว8147
mod_vvisit_counterทั้งหมด220422

We have: 8 guests online
IP: 3.144.212.145
วันนี้: เม.ย. 27, 2024

















เว็บไซต์ที่น่าสนใจ























QR Code
เทศบาลตำบลหนองลาน


 

ลิขสิทธิ์ © 2563 เทศบาลตำบลหนองลาน จังหวัดกาญจนบุรี สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด.
เทศบาลตำบลหนองลาน อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี โทร. 0-3451-0612