ด้านการเกษตร
เกษตรกรในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลหนองลาน ร้อยละ 70 ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่เนื่องจากสภาพพื้นที่เหมาะสมอุดมด้วยระบบน้ำชลประทาน มีผลผลิตด้านเกษตรกรรมหลัก คือ การทำไร่อ้อย ข้าวโพดฝักอ่อน ข้าวและพืชไร่ระยะสั้น (พริก,มะเขือ) มีสัดส่วนการประกอบอาชีพ ดังนี้
1.) อาชีพเกษตรกรรม/เกษตรกรรมผสมผสาน ร้อยละ 70
2.) อาชีพเลี้ยงสัตว์ (เศรษฐกิจ) โค,กระบือ,สุกร,แพะ เป็ด ไก่) ร้อยละ 13
3.) อาชีพรับจ้าง (โรงงานอุตสาหกรรม/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 8
4.) อาชีพค้าขาย (ร้านค้าและตลาดนัด) ร้อยละ 7.5
5.) อาชีพอื่นๆ (รับราชการ/รัฐวิสาหกิจ) ร้อยละ 1.5
การประมง
มีประชากรที่ประกอบอาชีพประมงขนาดเล็กควบคู่กับการทำการเกษตรด้านอื่นๆ ในเขตพื้นที่โครงการ “โคกหนองนา โมเดล” ในเขตเทศบาล จำนวน 4 ครัวเรือน มีการจัดการเลี้ยงสัตว์น้ำ/ครึ่งบกครึ่งน้ำ รวม 4 หมู่บ้าน (4 ครัวเรือนต้นแบบ) (เลี้ยงปลากินพืช/เลี้ยงกบและเลี้ยงหอยเชอรี่สีทอง)
การปศุสัตว์ (เลี้ยงสัตวศรษฐกิจ)
มีประชากรที่ประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์ และทำเกษตรผสมผสานร่วมด้วย โดยมีสัดส่วน/ข้อมูลของการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ ดังนี้
1.) เลี้ยงโค (โคขุนและโคเลี้ยงปล่อย) รวม 80 ครัวเรือน จำนวนโค 667 ตัว
2.) เลี้ยงกระบือ (กระบือขุนและกระบือเลี้ยงปล่อย) รวม 20 ครัวเรือน จำนวนโค 271 ตัว
3.) เลี้ยงสุกรขุน รวม 37 ครัวเรือน จำนวนสุกร 107 ตัว
4.) เลี้ยงแพะขุนและปล่อยเลี้ยง รวม 20 ครัวเรือน จำนวน 257 ตัว
5.) เลี้ยงไก่พื้นเมือง (อนุรักษ์/เศรษฐกิจ) รวม 45 ครัวเรือน จำนวน 1,351 ตัว
6.) เลี้ยงเป็ด ไก่ไข่ รวม 20 ครัวเรือน จำนวน 348 ตัว
7.) อื่นๆ (สุนัข และแมวเศรษฐกิจ) รวม 4 ครัวเรือน จำนวน 30 ตัว
(สัตว์เลี้ยงสัดส่วนไม่คงที่/ตัวแปร : จำหน่ายออกไปและเลี้ยงใหม่)
สถานบริการ/บันเทิง
ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลหนองลาน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวเป็นหลักที่ยึดเหยี่ยวให้ผู้คนมาท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และเชิงประวัติศาสตร์ ฉะนั้นไม่มีสถานบริการประเภทที่พัก โรงแรม/รีสอร์ท และโรงภาพยนต์ในพื้นที่ และร้านเกมส์/กาแฟในพื้นที่ดังนี้
1.) ร้านอาหาร รวม 4 ร้าน
2.) ร้านกาแฟ รวม 2 ร้าน
3.) ร้านเกมส์ รวม 3 ร้าน
สถานที่ท่องเที่ยว
เทศบาลตำบลหนองลาน ไม่มีต้นทุนแหล่งท่องเทียวทางธรรมชาติและโบราณสถานรวมถึงสิ่งก่อสร้าง ที่จะเป็นจุดเด่นและแรงจูงใจให้มาท่องเที่ยวได้อย่างครบครันสมบรูณ์แบบ เทศบาลตำบลหนองลานมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพตามแนวทางพัฒนาคุณภาพชีวิต ของประชาชน “คน 3 วัย” มีศูนย์เรียนรู้เกี่ยวกับการรู้ดำเนินชีวิตตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมถึงการศึกษาประวัติของพระสงฆ์ที่เป็นที่เคารพนับถือศรัทธาของประชาชน และพระพุทธศิลามณีศรีสรรเพชร (หลวงพ่อดำวัดหนองไม้แก่น) ซึ่งสามารถแยกหมวดหมู่อยู่ของการเรียนรู้ ดังนี้
1.) ประเภทการศึกษาประวัติพระพุทธรูปและพระสังฆาธิการประชาชนศรัทธาคือ
1.1) พระพุทธรูปพระพุทธศิลามณีศรีสรรเพชร “วัดหนองไม้แก่น”
1.2) รูปเหมือนพระสังฆธิการ(เจ้าอาวาส) “หลวงปู่ช่อ” วัดหนองไม้แก่น
1.3) รูปเหมือนพระสังฆาธิการ (เจ้าอาวาส) “หลวงพ่อแท่ง” วัดหนองลาน
2.) ประเภทการศึกษาเรียนรู้เรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน “คน 3 วัย”
2.1) โรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลหนองลานจัดตั้งเมื่อปี 2556 จนถึงปัจจุบันตั้งอยู่ในบริเวณวัดหนองไม้แก่น หมู่ที่ 6
2.2) การจัดตั้งศูนย์บริการ/ส่งเสริมอาชีพคนพิการ ณ วัดหนองไม้แก่น หมู่ที่ 6
2.3) การจัดตั้งสภาเด็กและเยาวชนเทศบาลตำบลหนองลาน
2.4) การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและการจัดการ “โคกหนองนา”โมเดล “บ้านหนองไม้แก่น หมู่ที่ 8 และเครือข่าย
3.) ประเภทของการอนุรักษ์ประเพณีพื้นบ้าน
3.1) การจัดงานประเพณีสารทเดือน 3 (ประเพณีเผาข้าวหลาม)
4.) ประเภทของการเรียนรู้อนุรักษ์การนวดสุขภาพและการแปรรูปสมุนไพร-วิสาหกิจชุมชนศูนย์แพทย์แผนไทยวัดหนองไม้แก่น
4.1) กิจกรรมการนวดเพื่อสุขภาพ
4.2) การแปรรูปสมุนไพรเพื่ออบไอน้ำยาสมุนไพร
4.3) การแปรรูปสมุนไพรจัดทำยาหอมชนะลม “หลวงพ่อดำ” วัดหนองไม้แก่น
ด้านการอุตสาหกรรม
เทศบาลตำบลหนองลานมีกิจการด้านอุตสาหกรรม คือ มีคนงานต่ำกว่า 10 คน และมีทรัพย์สินเกินกว่า 1 ล้าน รวม 1 แห่ง “โรงงานผลิตตุ๊กตาและสิ่งของ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ หมู่ที่ 2 บ้านหกหลัง (ผลิตสิ่งของตามลูกค้าสั่ง)
ด้านการพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
1.) ด้านการพาณิชย์
1.1) สถานีบริการน้ำมัน (ขนาดเล็ก) รวม 1 แห่ง
1.2) ซุปเปอร์มาเก็ต “เดอะสำเพ็ง” รวม 1 แห่ง
1.3) ซุปเปอร์มาเก็ต “เซเว่น” รวม 1 แห่ง (อยู่ระหว่างก่อสร้าง)
1.4) ร้านค้าต่างๆ (โชห่วย/เคลื่อนที่) รวม 47 แห่ง
1.5) ตลาดนัดค้า โค – กระบือ รวม 1 แห่ง (สัปดาห์ละ 3 ครั้ง)
2.) ด้านการอนุรักษ์กลุ่มอาชีพ
2.1) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแพทย์แผนไทยวัดหนองไม้แก่น รวม 1 กลุ่ม
2.2) กลุ่มหัตถศิลปคนพิการ รวม 1 กลุ่ม
2.3) กลุ่มสินค้าพื้นเมือง “ OTOP” รวม 2 กลุ่ม
2.4) กลุ่มสหกรณ์การเกษตรตำบลหนองลาน รวม 1 กลุ่ม
2.5) กลุ่มชมรมอนุรักษ์และส่งเสริมการเลี้ยงไก่พื้นเมือง รวม 1 กลุ่ม
2.6) กลุ่มผู้เลี้ยง โค-กระบือ เพื่อการจำหน่าย รวม 1 กลุ่ม (อยู่ระหว่างการจัดตั้ง)
สถานภาพด้านแรงงาน มีแรงงาน (ตามเกณฑ์ จปฐ)) ร้อยละ 63.5 รวม 2,944 คน
เทศบาลตำบลหนองลานประชาชนประกอบอาชีพหลักด้านการเกษตร (ผสมผสาน) และอาชีพรับจ้างทั่วไป ในระบบและนอกระบบกอร์ปดับในเขตพื้นที่ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งประชาชนช่วงวัยทำงานจะไปทำงานนอกพื้นที่ส่วนใหญ่ ดังนั้นประชาชนช่วงวัยทำงานและช่วงผู้สูงวัยที่ยังทำงานได้ขอแยกออกเป็น 2 ประเภท โดยมีแรงงานทั้งหมด (ตามเกณฑ์ จปฐ.) รวม 2,944 คน แยกออก ดังนี้
1.) ประเภทแรงงานอิสระ มีสัดส่วน ร้อยละ 65 รวม 1,913 คนแยกได้ดังนี้
1.1) แรงงานด้านเกษตรกรรม ร้อยละ 60 รวม 1,148 คน
1.2) แรงงานด้านอาชีพรับจ้าง (เฉพาะด้าน/เกษตร/ก่อสร้าง) ร้อยละ 5 รวม 765 คน
2.) ประเภทแรงงาน(ในระบบ) มีสัดส่วนร้อยละ 35 รวม 1,031 คน แยกได้ดังนี้
2.1) แรงงานรับจ้างในโรงงานอุตสาหกรรม (SML) ร้อยละ 30 รวม 979 คน
2.2) แรงงานประกอบอาชีพอื่นๆ (ราชการ/รัฐวิสาหกิจ/ส่วนตัว) ร้อยละ 5 รวม 52 คน
ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
การนับถือศาสนา
มีประชากรนับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 99
วัดในศาสนาพุทธ รวม 5 วัด
ประเพณีและงานประจำปี
1.) งานประเพณีและวันสำคัญ
- วันปีใหม่ (สากล) ช่วงเดือนมกราคม
- วันสงกรานต์ (ปีใหม่ไทย) ช่วงเดือนเมษายน
- วันสารทเดือนสาม ช่วงเดือน มีนาคม - เมษายน (หมู่ที่ 6,8)
- ประเพณีวันลอยกระทง ช่วงเดือน ตุลาคม – พฤศจิกายน
- ประเพณีวันเข้าพรรษา – ออกพรรษา ช่วงเดือน กรกฎาคม – พฤศจิกายน
2.) งานประจำปี
- วันสืบสานคุณงามความดีพรสังฆาธิการ (หลวงปู่ช่อ) วัดหนองไม้แก่น
- วันสืบสานคุณงามความดีพรสังฆาธิการ (หลวงพ่อแท่ง) วัดหนองลาน
- วันงานประจำปีวัดดาปานนิมิต
- วันงานประจำปีวัดจันทร์ลาดสุขสุวรรณ
- วันงานประจำปีวัดมงคลรัตนาราม
ภูมิปัญญาท้องถิ่นและภาษาถิ่น
1.) ภูมิปัญญาท้องถิ่น
- อัตลักษณ์ภาษาถิ่น “ภาษาลาว...ภาษาเรา” “บ้านหกหลัง หมู่ 2”
“บ้านหกหลังใน หมู่ 6” และ “บ้านหนองไม้แก่น หมู่ 8”
- อัตลักษณ์อาหารพื้นบ้าน (คาว/หวาน) ตำบลหนองลาน ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรี จัดทำเป็นตำรับอาหารพื้นบ้านทรงคุณค่า รวมอาหารคาว 30 ประเภท อาหารหวาน รวม 20 ประเภท (อาหารคาวโดดเด่น แยมหยวกกล้วย/อาหารหวานข้าวต้มมัด)
สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
1.) ประเภทแปรรูปจากสมุนไพร
1.1) ยาหอมชนะลมหลวงพ่อทองดำ (ศูนย์วิสาหกิจชุมชนแพทย์แผนไทยวัดหนองไม้แก่น)
1.2) น้ำมันหอมระเหย (ตะไคร้/ขมิ้นชัน/ไพร) กลุ่มหัตถศิลป์ชมรมคนพิการ)
1.3) ยาสมุนไพรบรรจุแคปซูลและน้ำมันหอมระเหย (กลุ่ม OTOP วุฒิธรรมเวชหมอวุฒิ)
1.4) น้ำยาสมุนไพรล้างภาชนะ
1.5) น้ำยาสมุนไพรล้างห้องน้ำ
2.) ประเภทแปรรูปจากผลผลิตทางการเกษตร
2.1) ข้าวเกรียบข้าวโพดฝักอ่อน (กลุ่ม OTOP ป้าทองคำ)
2.2) ขนมกล้วยแซ๊บ (ผสมสมุนไพร) กลุ่มนักเรียนผู้สูงอายุ
2.3) ขนมถ้วยลูกตาล กลุ่มนักเรียนผู้สูงอายุ
2.4) การสานชะลอม (ทรงทุเรียน) จากใบตาลและใบลานไว้ใส่อาหารว่างในงานต่างๆ
3.) ประเภทศิลปะประดิษฐ์ (จากสิ่งของเหลือใช้)(จากชมรมคนพิการ : กลุ่มหัตศิลป์ และกลุ่มนักเรียนผู้สูงอายุ)
3.1) การทำพวงหรีดแฟนซี (งานฌาปนกิจศพ) กลุ่มชมรมคนพิการ
3.2) การทำพวงมาลัย จากผ้าขาวม้า (กลุ่มชมรมคนพิการ)
3.3) การสานตะกร้าจากเส้นเชือกสังเคราะห์ (กลุ่มชมรมคนพิการและนักเรียนผู้สูงอายุ)
3.4) การสานตะกร้าและพัดจากเส้นพลาสติก(กลุ่มชมรมคนพิการและนักเรียนผู้สูงอายุ)
3.5) การทำกระเป๋าจากกระป๋องน้ำอัดลมและเบียร์ (กลุ่มนักเรียนผู้สูงอายุ)
3.6) การถักเปลญวณจากเศษผ้าใบและพลาสติกผสมผ้า (กลุ่มผู้นักเรียนผู้สูงอายุ)
3.7) การทำดอกไม้จากหลอดพลาสติก (นักเรียนผู้สูงอายุและกลุ่มช่วยเหลือนักเรียนผู้สูงอายุ)
3.8) การทำประติมากรรมนูนต่ำ (จากสภาเด็ก/นักเรียนเทศบาลตำบลหนองลาน)